อ่านออกเสียงร้อยแก้วและร้อยกรองได้ถูกต้องเหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน คัดลายมือด้วยตัวบรรจงครึ่งบรรทัด เขียนจดหมายส่วนตัว เขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสาระจากสื่อที่ได้รับ เขียนเรียงความ วิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค ระบุและอธิบายคำเปรียบเทียบและคำที่มีหลายความหมายในบริบทต่าง ๆ จากการอ่าน จำแนกสำนวนและใช้สำนวนที่เป็นคำพังเพยและสุภาษิต พูดสรุปใจความสำคัญของเรื่องที่ฟังและดูอธิบายลักษณะของเสียงในภาษาไทย อธิบายคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่านบอกหลักและวิธีการแต่งคำประพันธ์ ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ พูดแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์เกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดูโดยใช้ทักษะกระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิด กระบวนการเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความและเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่าง ๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ เลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ พูดแสดงความรู้ ความคิด และความรู้สึกในโอกาสต่าง ๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาของภาษา เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่ามีมารยาทในการเขียน และมีความคิด สามารถนำเสนอ สื่อสาร สิ่งที่เรียนรู้และนำไปใช้ตัดสินใจ ในการแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวันซึ่งมีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
มาตราตัวสะกดเป็นพยัญชนะที่ประสมอยู่ข้างหลังคำหรือพยางค์ในมาตรา ก กา โดยมาตรากดเป็นมาตราที่มีพยัญชนะสะกดหลายตัว ได้แก่ ด จ ช ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ต ถ ท ธ ศ ษ ส ฒิ ติ ธิ ตุ ชร ทร ตร รถ ทธ โดยต้องอ่านออกเสียงเหมือน ด สะกด การอ่านและเขียนคำได้ถูกต้องตามมาตรามีความสำคัญ จึงต้องตระหนักถึงความสำคัญในการใช้ตัวสะกดให้ถูกต้องเพื่อการใช้คำได้ตรงความหมาย
มาตรฐาน ท 4.1 เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษาและรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ
ตัวชี้วัด ท 4.1 ป. 6/6 วิเคราะห์และเปรียบเทียบสำนวนที่เป็นคำพังเพยและสุภาษิต
สำนวน หมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงด้วยความคมคายสละสลวย ใช้พูดสื่อสารกันมีความหมายเป็นนัย กินความลึกซึ้ง มักเป็นคำเปรียบเทียบ เช่น ปิดทองหลังพระ
คำพังเพย หมายถึง ถ้อยคำที่แสดงความจริง ไม่ได้สอนโดยตรง จะเป็นคำที่กล่าวไว้ ให้ตีความหมายเข้ากับเรื่อง มีความหมายทำนองติชม การเปรียบเทียบ และให้ข้อคิดในการปฏิบัติ เช่น สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ
สุภาษิต หมายถึง ถ้อยคำที่กล่าวเป็นทำนองให้ข้อคิด คติ สั่งสอน เพื่อให้กระทำความดีและ
ละเว้นความชั่ว เช่น มือถือสาก ปากถือศีล
- อาจารย์: WKTนางนีรนุช บุรินทร์กุล
มาตราตัวสะกดเป็นพยัญชนะที่ประสมอยู่ข้างหลังคำหรือพยางค์ในมาตรา ก กา โดยมาตรากดเป็นมาตราที่มีพยัญชนะสะกดหลายตัว ได้แก่ ด จ ช ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ต ถ ท ธ ศ ษ ส ฒิ ติ ธิ ตุ ชร ทร ตร รถ ทธ โดยต้องอ่านออกเสียงเหมือน ด สะกด การอ่านและเขียนคำได้ถูกต้องตามมาตรามีความสำคัญ จึงต้องตระหนักถึงความสำคัญในการใช้ตัวสะกดให้ถูกต้องเพื่อการใช้คำได้ตรงความหมาย
นางสาวปนัดดา เวลาดี ครูผู้สอน
- อาจารย์: WBL รัตนาภรณ์ สุทธิการ